วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สรุปวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากแหล่งโทรทัศน์ครู

          วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย 
   การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง 


การเรียนวิทยาศาสตร์  เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา    คือ
                1.  ความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์
                2.  ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน  เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท
                3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ
                4.  การสรุปข้อความรู้  หรือมโนทัศน์จากการสังเกต  และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง

สรุการจัดกิจจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โรงเรียนสาธิตมหาวิยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

เรื่องการหักเหของแสง

1.การตั้งคำถามจากประสบการณ์เดิมของเด็ก คือ
-เด็ก ๆ คะ เด็ก ๆ รู้จักแสงหรือไม่
-เด็กๆคิดว่างแสงมีอยู่ที่ไหนบ้างเอ่ย
-เด็กๆคิดว่าแสงมีลักษณะอย่างไร

2.การตั้งคำถามเพื่่อนำไปสู่การตั้งสมมุติฐานการทดลอง
-เด็กๆคิดว่าการหักเหของแสงจะมีลักษณะเป็นอย่างไร

3.เรืิ่มทำการทดลองตามขั้นตอน
-ให้เด็ก ๆ สังเกตแก้วน้ำตั้งเรียงกันอยู่ 2 ใบ
-คุณครูเทน้ำลงแก้วใบแรก และใบที่ 2 ไม่ต้องเทน้ำใส่
-หลังจากนั้นให้เด็กนำหลอดใส่ลงไปในแก้วทั้งสองใบ แล้วถามเด็กๆ ว่า 
"เด็กๆ เห็นความแตกต่างของหลอดที่อยู่ในแก้ว 2 ใบนี้ไหมคะ"
-นอกจากนี้ให้เด็กหยิบหลอกออกแล้วใช้นิ้วมือ 1 นิ้ว แต่ละข้างจุ่มลงไปในแก้วทั้ง 2 ใบพร้อมกัน แล้วครูถามเด็ก ๆ ว่า "เด็ก ๆ สังเกตเห็นอะไรบ้างคะ"

4.สรุปผลการทดลอง
การหักเหของแสงแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางผ่านชนิดกันเมื่อแสงคลื่นที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแสงจะมีการหักเห  และตัวกลางแต่ละชนิดจะเกิดการหักเหที่แตกต่างกั 

5.การนำไปใช้

 แสง  เป็นพลังงานรูปหนึ่งซึ่งไม่ต้องการที่อยู่ ไม่มีน้ำหนัก แต่สามารถทำงานได้  ในแสงอาทิตย์ มีคลื่นรังสีหลายชนิดตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น  ประโยชน์ที่เราได้รับจากแสงอาทิตย์มีอยู่  2  ส่วนคือ  ความร้อน และแสงสว่าง ในชีวิตประจำวัน เราได้รับประโยชน์จากความร้อน และแสงสว่างของดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แสงอาทิตย์ทำให้โลกสว่าง เราสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก