วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สรุปวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากแหล่งโทรทัศน์ครู

          วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย 
   การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง 


การเรียนวิทยาศาสตร์  เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา    คือ
                1.  ความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์
                2.  ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน  เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท
                3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ
                4.  การสรุปข้อความรู้  หรือมโนทัศน์จากการสังเกต  และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง

สรุการจัดกิจจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โรงเรียนสาธิตมหาวิยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

เรื่องการหักเหของแสง

1.การตั้งคำถามจากประสบการณ์เดิมของเด็ก คือ
-เด็ก ๆ คะ เด็ก ๆ รู้จักแสงหรือไม่
-เด็กๆคิดว่างแสงมีอยู่ที่ไหนบ้างเอ่ย
-เด็กๆคิดว่าแสงมีลักษณะอย่างไร

2.การตั้งคำถามเพื่่อนำไปสู่การตั้งสมมุติฐานการทดลอง
-เด็กๆคิดว่าการหักเหของแสงจะมีลักษณะเป็นอย่างไร

3.เรืิ่มทำการทดลองตามขั้นตอน
-ให้เด็ก ๆ สังเกตแก้วน้ำตั้งเรียงกันอยู่ 2 ใบ
-คุณครูเทน้ำลงแก้วใบแรก และใบที่ 2 ไม่ต้องเทน้ำใส่
-หลังจากนั้นให้เด็กนำหลอดใส่ลงไปในแก้วทั้งสองใบ แล้วถามเด็กๆ ว่า 
"เด็กๆ เห็นความแตกต่างของหลอดที่อยู่ในแก้ว 2 ใบนี้ไหมคะ"
-นอกจากนี้ให้เด็กหยิบหลอกออกแล้วใช้นิ้วมือ 1 นิ้ว แต่ละข้างจุ่มลงไปในแก้วทั้ง 2 ใบพร้อมกัน แล้วครูถามเด็ก ๆ ว่า "เด็ก ๆ สังเกตเห็นอะไรบ้างคะ"

4.สรุปผลการทดลอง
การหักเหของแสงแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางผ่านชนิดกันเมื่อแสงคลื่นที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแสงจะมีการหักเห  และตัวกลางแต่ละชนิดจะเกิดการหักเหที่แตกต่างกั 

5.การนำไปใช้

 แสง  เป็นพลังงานรูปหนึ่งซึ่งไม่ต้องการที่อยู่ ไม่มีน้ำหนัก แต่สามารถทำงานได้  ในแสงอาทิตย์ มีคลื่นรังสีหลายชนิดตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น  ประโยชน์ที่เราได้รับจากแสงอาทิตย์มีอยู่  2  ส่วนคือ  ความร้อน และแสงสว่าง ในชีวิตประจำวัน เราได้รับประโยชน์จากความร้อน และแสงสว่างของดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แสงอาทิตย์ทำให้โลกสว่าง เราสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555


บันทึกการเรียนครั้งที่  17


* วันที่  25  กันยายน  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง Power point ที่จัดกิจกรรมที่สาธิต ให้ลงแผ่น CD  แล้วนำส่งให้เรียบร้อย
  • อาจารย์พูดถึงเรื่องการทำ  Bloger  ให้จัดการให้เรียบร้อย
  • ให้กระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้2หัวข้อ โดยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ       Tablet                                                                                               -  Tablet  สำหรับ ป.1 ,  Tablet  สำหรับ อนุบาล
  • ปิดคอร์ส

บันทึกการเรียนครั้งที่  16


* วันที่  18  กันยายน   2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

  • แต่ละกลุ่มนำเสนองานที่ไปจัดกิจกรรมที่สาธิตจันทรเกษม   จากนั้นอาจารย์บอกถึงข้อที่ควรนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป


บันทึกการเรียนครั้งที่
  15


* วันที่ 11 กันยายน  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้ได้ไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับน้อง ๆ อนุบาล ที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม   
  • กลุ่มของเรา ทำเรื่อง การหักเหของแสง


แนวคิด
     แสงเดินทางเป็นเส้นตรงออกจากแหล่งกำเนิดของแสงทุกทิศทุกทางเมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห

อุปกรณ์
      1.น้ำ
      2.แก้วใส
      3.หลอดดูดน้ำ


ขั้นตอนการทดลอง
      1.เทน้ำใส่แก้วให้เต็มแก้ว
      2.นำหลอดใส่ลงไปในแก้วที่มีน้ำ 
      3.นำหลอดใส่ลงไปในแก้วที่ไม่มีน้ำแล้วสังเกตความแตกต่าง
      4.หยิบหลอดออกจากแก้วทั้ง 2 ใบ
      5.ใช้นิ้วมือ 1 นิ้ว ทั้งสองข้างจุ่มลงไปในแก้วทั้งสองใบพร้อมกันแล้วสังเกตความแตกต่าง


สรุปผลการทดลอง


การหักเหของแสงแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางผ่านชนิดกันเมื่อแสงคลื่นที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแสงจะมีการหักเห  และตัวกลางแต่ละชนิดจะเกิดการหักเหที่แตกต่างกั 



วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555



บันทึกการเรียนครั้งที่
  14


* วันที่ 4 กันยายน  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้อาจารย์ดูบอร์ดที่แต่ละกลุ่มจัดมา เพื่อร่วมกันหาข้อผิดพลาด หรือสิ่งที่ควรนำไปแก้ไขปรับปรุง
  • พร้อมกับส่งสมุดวิธีการพับดอกไม้
  • อาจารย์นัดเรื่องอบรม เทคนิคการเล่านิทาน ในวันอาทิตย์ที่ 9 ก.ย
  • ตกลงเรื่องกลุ่มที่ต้องไปทำฐานการทดลองวิทยาศาสตร์ที่สาธิตจันทรเกษม


บันทึกการเรียนครั้งที่
  13


* วันที่ 28  สิงหาคม   2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

  • ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์จะสอนชดเชย




บันทึกการเรียนครั้งที่
  12


* วันที่ 25 สิงหาคม  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้ได้เข้าอบรมการทำสื่อจัดป้ายนิเทศ หรือจัดบอร์ดโดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ให้แก่นักศึกษาทั้งภาคปกติและภาคพิเศษสาขาการศึกษาปฐมวัย  ที่ห้องศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์   
  • รู้วิธีการทำสื่อหลากหลายอย่าง
    -การทำดอกบัว จากกระดาษ
    -การทำดอกกุหลาบแบบเชียงใหม่  จากกระดาษ
    -การทำดอกไม้เป็นรูปหัวใจ
    -การทำดอกมะลิจากทิชชู
    -การทำใบไม้


บันทึกการเรียนครั้งที่
  11


* วันที่ 21 สิงหาคม  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 8 คน อาจารย์ได้แจกหนังสือกลุ่มละ 1 เล่ม โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้เรื่องสาระเกี่ยวกับตัวเด็ก แต่ละกลุ่มนำแต่ละหน่วยมาทำเป็น mildmap  รวมกัน
                                                                         


*งานที่ได้รับมอบหมาย

  • แบ่งกลุ่ม 4 คน ทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียนครั้งที่  10


* วันที่ 14 สิงหาคม  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ
  • ไม่มีการเรียนการสอนแต่อาจารย์จะสอนชดเชยในวัน อาทิตย์ที่ 2 กันยายน 2555


บันทึกการเรียนครั้งที่  9


* วันที่ 7 สิงหาคม  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ
  • ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์จะสอนชดเชยในวัน อาทิตย์ ที่25 สิงหาคม 2555



บันทึกการเรียนครั้งที่  8


* วันที่ 31 กรกฎาคม  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ
  • ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก มีการสอบกลางภาค


บันทึกการเรียนครั้งที่  7


* วันที่ 24 กรกฎาคม  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

  • แหล่งการเรียนรู้
    1. ท้องฟ้จำลอง
    2. พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
    3. ศูนย์วิทย์ ( ฐานะครู )
    4. ไบเทคบางนา
    5. สถานที่
    ประโยชน์
    1. การสังเกตุ
    2. คำถาม
    3. ทดลอง
    4. ตื่นเต้น
    5. เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    6. ค้นหา
    7. เกิดการเปรียบเทียบ
    8. ข้อมูล/เนื้อหา
    ข้อจำกัด
    1. ไกล
    2. ห้ามถ่ายภาพ
    3. เดินทางไม่สะดวก
    4. ค่าบริการแพง
    วิธีการที่ทำให้เด็กเรียนรู้
    1. เอาของจริงให้ดู ( จัดสภาพแวดล้อม)
    2. วีดีโอ (สื่อการสอน/ข้อความรู้)
    3. สาธิตให้เด็กดูและลงมือปฏิบัติ
    การสะท้อนกลับ
    1. การแสดงบทบาทสมมุติ
    2. เล่นเกม
    3. กาแต่งนิทาน /กลอน/ เพลง
    4. การจัดนิทรรศการ

*งานที่ได้รับมอบหมาย

  • เขียนแผนการสอนตามหน่วยที่ได้รับผิดชอบ
  • แบ่งกลุ่ม 11 คนทำฐานวิทยาศาสตร์

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


บันทึกการเรียนครั้งที่  6


* วันที่ 17 กรกฎาคม  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

  • ส่งงานของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (สำหรับคนที่ยังไม่ส่ง)
  • ทำงานที่เป็นแผนการเรียนในหน่วยที่ได้ (กลุ่มของข้าพเจ้าได้เรื่อง ผักสดแสนอร่อย) โดยรวมกลุ่มใหญ่ อ.1 , อ.2, และอ.3  ให้เป็นแผ่นเดียวกัน

*งานที่ได้รับมอบหมาย

  • อาจารย์ให้แบ่งหัวข้อที่ร่วมกันทำในกลุ่ม 5 คน ไปทำเป็นงานเดี่ยวโดยใส่ประสบการณ์สำคัญลงไป (ส่งวันพฤหัสบดี)

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่  5


* วันที่ 10 กรกฎาคม  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

  • นำเสนองานของเล่นวิทยาศาสตร์ อาจารย์คอมเมนท์ในสิ่งที่ทำผิดพลาด
  •  ได้รู้การทำเทคนิดของเราเองให้หลากหลาย









*งานที่ได้รับมอบหมาย

  • แก้งานของเล่นที่ส่งไม่ผ่านส่งสัปดาห์หน้า



บันทึกการเรียนครั้งที่  4


* วันที่ 3 กรกฎาคม  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ

*  ดู VDO วิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็กปฐมวัย  
   ทำให้เราได้รู้ถึงเทคนิค  วิธีการใน     การนำเสนอชิ้นงานของเรา  
    โดยทีให้เด็กเข้าใจง่าย คือ อธิบาย พร้อมยกตัวอย่างของจริงมาประกอบด้วย   
  • ควรจะเรียงลำดับเหตุการณ์จากง่าย ไป ยาก   
  • เนื้อหาในเรื่องที่ดู คือ เรื่องน้ำ  น้ำเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนเราจะสามารถขาดน้ำได้เพียงแค่ 3 วันก็อาจเสียชีวิตได้  แต่อูฐอยู่ได้ถึง 10 วัน  เพราะอูฐจะเก็บไขมันไว้ที่หลัง เมื่อไม่มีน้ำมันสามารถดึงจากหลังมาใช้หล่อเลี้ยงได้
                



* งานที่ได้รับมอบหมาย

ไปผลิตของเล่นที่เป็นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมา ทำเป็นกลุ่ม 2 คน 2 ชิ้น

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555


บันทึกการเรียนครั้งที่  3


* วันที่ 26   มิถุนายน  2555


  *ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้ส่งงานกลุ่ม Mapping ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก   กลุ่มของข้าพเจ้าทำหน่วย   "กล้วย"   
  • อาจารย์ Comment งานของแต่ละกลุ่มเพื่อให้ไปปรับปรุงแก้ไขในงานต่อไป
  • ขั้นอนุรักษ์ คืออะไร ------> คือ ขั้นที่เด็กยังคงตอบตามที่ตาเห็น  ยังไม่รู้จักการเชื่อมโยง  การใช้เหตุผล

                



* งานที่ได้รับมอบหมาย
  • ให้จับกลุ่ม  4- 5  คน  เพื่อไปหาหน่วยการเรียนที่สาธิตในสัปดาห์ที่รับผิดชอบ เพื่อมมาจัดทำแผนการเรียนส่งสัปดาห์ถัดไป (เอามาแค่ "หัวข้อหน่วย")

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

* วันที่ 19   มิถุนายน  2555

* ความรู้ที่ได้รับ


* งานที่ได้รับมอบหมาย

  • พัฒนาการทางสติปัญญาด้านวิทยาศาสตร์ของเด็ก 4 ขวบ นำมา Ling Blog
  • จับกลุ่ม 3-4 คนทำ May Maping เรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

* วันที่ 12   มิถุนายน  2555


 ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้อาจารย์ได้เข้ามาปฐมนิเทศน์ให้กับนักศึกษา
  • อาจารย์พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในเบื้องต้น

* งานที่ได้รับมอบหมาย
  • ให้ไปหามาตราฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และลิงค์ใส่ในบล็อกของตนเอง
  • ให้สร้างบล็อกใหม่ของตนเองขึ้นมาอีก